ใช่ว่าจะมีแต่สิ่งของที่เก่าแก่ไปตามกาลเวลา ความชราก็เป็นสิ่งที่มนุษย์เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อถึงเวลาแล้ว เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะปรับวิธีการใช้ชีวิตซะใหม่ให้เข้ากับวัย โดยเฉพาะการจัดบ้านที่เหมาะสม เพื่อความสะดวกและปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับตัวคุณเองหรือผู้หลักผู้ใหญ่ภายในบ้านที่แก่ชราลง ก็ลองเตรียมตัวเอาไว้ล่วงหน้าด้วยการทำตามนี้ดู
1. สร้างทางลาดเอาไว้
หลาย ๆ คนมักเลือกจะทำขั้นบันไดเล็ก ๆ ไว้ตามทางเดินหน้าบ้านหรือหลังบ้านเพียงอย่างเดียว แต่ลืมที่จะสร้างทางลาดเอาไว้ด้วย ทั้ง ๆ ที่ทางลาดก็มีความสำคัญไม่น้อย เช่น คุณสามารถขนย้ายกระเป๋าเดินทางมีล้อใบใหญ่ผ่านทางนี้ได้ โดยไม่ต้องแบกให้หนัก ยิ่งไปกว่านั้น เกิดวันหนึ่งมีใครบาดเจ็บต้องนั่งรถเข็น หรือมีคนชราอยู่ในครอบครัว จะได้เข้าออกสะดวกมากขึ้น
2. ประตูที่กว้างขวาง
นอกจากประตูกว้าง ๆ จะช่วยให้คุณขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ เช่น โซฟา เตียงนอน และ โต๊ะอาหาร ได้ง่ายดายยิ่งขึ้นแล้ว มันยังสะดวกต่อคนชราหรือคนพิการที่จำเป็นต้องนั่งรถเข็นด้วยเช่นกัน เพราะหากต้องเข็นรถเข็นคันใหญ่ผ่านประตูแคบ ๆ ก็คงลำบากอยู่เหมือนกัน โดยประตูที่ดีนั้นควรมีความกว้างอย่างน้อย 36 นิ้ว และถ้าจะให้ดี โถงทางเดินก็ควรกว้างอย่างน้อย 42 นิ้วด้วย ถึงจะเหมาะกับครอบครัวใหญ่ที่มีคนมาก และต้องใช้รถเข็น
3. บ้านชั้นเดียว
ตอนนี้การเดินขึ้นบันไดไปชั้นสองอาจเป็นเรื่องง่าย ๆ สำหรับคุณ เผลอ ๆ จะเดินขึ้นไปชั้น 3 – 4 ก็ยังสบาย ๆ เสียด้วยซ้ำ แต่สำหรับคนมีอายุกลับไม่ใช่อย่างนั้นหรอกนะคะ เพราะข้อเข่าของผู้สูงอายุจะอ่อนแอลงอีกมาก จนลุกนั่งยังลำบากเสียด้วยซ้ำ และหากเดินพลาดตกบันไดขึ้นมา ร่างกายก็คงไม่ฟื้นตัวง่าย ๆ เหมือนยังเป็นหนุ่มเป็นสาวด้วย ดังนั้นรอบคอบไว้ก่อนด้วยการอยู่บ้านชั้นเดียว หรือจัดห้องที่ผู้สูงอายุต้องใช้เป็นประจำอยู่ชั้นล่างเท่านั้นจะดีกว่า
4. สวิตช์ไฟก็สำคัญ
คุณควรติดสวิตช์ไฟไว้ในตำแหน่งที่คนนั่งบนรถเข็นเอื้อมถึง อย่าชะล่าใจคิดว่าคงมีคนคอยช่วยเปิดไฟให้ตลอดเวลาเด็ดขาด เพราะอาจมีบางเวลาที่ผู้สูงอายุต้องอยู่คนเดียวบ้างก็ได้ และถ้าเกิดจำเป็นต้องใช้แสงไฟขึ้นมาคงแย่แน่ ๆ ดังนั้นกันไว้ดีกว่าแก้ ควรติดสวิตช์ไฟไว้ในตำแหน่งสูง 42-48 นิ้วจากพื้น เพื่อให้ได้ระดับที่พอดี ไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไปสำหรับรถเข็น
5. เปลี่ยนประตูซะใหม่
ถ้าบ้านของคุณใช้ประตูที่ฝืดเคืองเปิดยากก็คงถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนกันแล้ว เพราะต่อไปถ้าอายุมากขึ้น การออกแรงบิดลูกบิดก็อาจทำให้คุณปวดข้อได้เหมือนกัน นอกจากนี้ถ้าประตูฝืดจนดึงไม่ออก ก็อาจทำให้ผู้สูงอายุติดอยู่ในห้องได้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งลูกบิดที่คุณใช้ควรเป็นแบบเขาควายแทนลูกบิดหมุนด้วย เพื่อให้คนที่นั่งอยู่บนรถเข็นเปิดได้สะดวก
ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ห้องที่ลื่นล้มได้ง่ายอย่างห้องน้ำก็ควร ปูพรมกันลื่น และทำราวเสริมจับเอาไว้บริเวณอ่างอาบน้ำด้วยนะครับ คุณและสมาชิกในครอบครัวที่คุณรักจะได้ห่างไกลจากอุบัติเหตุในบ้าน อยู่มีความสุขกับลูกหลานได้นาน ๆ
+0 -0
สิ่งอำนวยความสะดวก
1.ที่จอดรถ
- ที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุ/ผุ้พิการ
- ที่จอดรถสำหรับสุภาพสตรี
2.ทางเดิน/บันได
- ทางลาดสำหรับรถเข็น
- ราวจับบันได
- ลิฟท์
- ทางเดินกว้าง (easy walk in access)
- ราวจับทางเดิน
- พื้นไม่ลื่น
3.ห้องน้ำ
- ห้องน้ำคนพิการ/คนสูงอายุ (wheelchairเข้าได้)
- ต้องขึ้นบันไดเพื่อไปห้องน้ำ
- ชักโครก (แบบนั่ง)
- ราวเกาะ
- พื้นไม่ลื่น
4.สิ่งอำนวยความสะดวกพิเศษ
- มีรถเข็น wheelchair / ไม้เท้า บริการ