เมื่อเข้าสู่ วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุบางคนรับประทานอาหารได้น้อยลงอาจเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และจิตใจ ได้แก่
- ปัญหาในเรื่องสุขภาพช่องปาก ได้แก่โรคเหงือก การใส่ฟันปลอม หรือการสูญเสียฟันและไม่ได้ใส่ฟันทดแทนซึ่งจะทำให้มีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร ผู้สูงอายุจึงไม่อยากรับประทานอาหารที่ต้องเคี้ยว เช่น เนื้อสัตว์ หรือผลไม้เนื้อแข็ง
- การรับกลิ่นอาหารลดลง ซึ่งกลิ่นของอาหารเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นความอยากอาหาร ดังนั้นหากประสาทในการรับกลิ่นอาหารทำงานได้น้อยลงผู้สูงอายุก็จะไม่รู้สึกอยากรับประทานอาหาร
- ความเสื่อมของปุ่มรับรสที่ลิ้นและจำนวนปุ่มรับลดมีน้อยลง ผู้สูงอายุหลายคนประสบปัญหาว่าไม่รับรู้ถึงรสอาหารที่ตนเองรับประทานจึงไม่ทำให้เกิดความเอร็ดอร่อยในการกินอาหาร
- ผู้สูงอายุรู้สึกสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เคยประกอบอาหารให้คนในครอบครัวรับประทาน เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุความสามารถดังกล่าวลดลง เช่น อาหารที่เคยปรุงอร่อยมีรสเปลี่ยนไป หรือปัญหาทางสายตาที่ทำให้มอเห็นไม่ถนัด
- ความกังวลในจิตใจ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความเสื่อมของร่างกายแต่เป็นอาการทางจิตใจ ซึ่งมีสาเหตุจากหลายประการทั้งในเรื่องการสูญเสียอำนาจหรือการยอมรับในสังคม พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่เคยทำงานในตำแหน่งใหญ่ หรืออาจเนื่องมา
- จากการไม่ได้รับการตอบสนองจากลูกหลานเนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการให้ลูกหลานมาดูแลอย่างใกล้ชิดหรืออาจกังวลว่าตนเองจะเป็นภาระให้ลูกหลาน และบางรายอาจเกิดความวิตกกังวลเนื่องจากมีเพื่อนในวัยใกล้เคียงกันป่วยหรือเสียชีวิต และกังวลว่าตนเองจะเป็นเช่นนั้น
ดังนั้น ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ ควรทำความเข้าใจปัญหาดังกล่าว และควรกระตุ้นความอยากอาหารของผู้สูงอายุโดยควรดำเนินการดังนี้
- ควรจัดสีสันของอาหารให้น่ารับประทานเพื่อเพิ่มความดึงดูดในการอยากอาหาร
- เปลี่ยนบรรยากาศในการรับประทานอาหารโดยอาจเปลี่ยนสถานที่เช่นอาจพามานั่งรับประทานอาหารที่นอกบ้าน ระเบียงบ้าน
- ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการประกอบอาหาร โดยอาจให้ช่วยเตรียม หรือเป็นผู้บอกสูตรการประกอบอาหาร
- หากเป็นไปได้ควรให้ลูกหลานมาร่วมรับประทานอาหารด้วยเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศ และลดปัญหาทางด้านความต้องการทางจิตใจของผู้สูงอายุ
- แบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อยๆ
- กระตุ้นให้ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับผู้สูงอายุเองต้องทำความเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และพยายามรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่หากไม่สามารถทำได้อาจต้องเพิ่มอาหารเสริมทั้งนี้ในการเลือกอาหารเสริมควรต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
ข้อมูลโดย : สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
+0 -0
สิ่งอำนวยความสะดวก
1.ที่จอดรถ
- ที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุ/ผุ้พิการ
- ที่จอดรถสำหรับสุภาพสตรี
2.ทางเดิน/บันได
- ทางลาดสำหรับรถเข็น
- ราวจับบันได
- ลิฟท์
- ทางเดินกว้าง (easy walk in access)
- ราวจับทางเดิน
- พื้นไม่ลื่น
3.ห้องน้ำ
- ห้องน้ำคนพิการ/คนสูงอายุ (wheelchairเข้าได้)
- ต้องขึ้นบันไดเพื่อไปห้องน้ำ
- ชักโครก (แบบนั่ง)
- ราวเกาะ
- พื้นไม่ลื่น
4.สิ่งอำนวยความสะดวกพิเศษ
- มีรถเข็น wheelchair / ไม้เท้า บริการ