ขจร

บทความที่น่าสนใจ

สุขกาย สุขใจ เมื่อเข้าสู่วัยชรา

วัยชรา

สังคมในยุค 3G ที่เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขมีความเจริญก้าวหน้า การเข้ารับบริการทางด้านสุขภาพก็มีความรวดเร็วและทั่วถึง ประชากรจึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น เมื่อประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พวกเราก็ควรเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อเราและบุคคลใกล้ชิดที่เข้าสู่วัยชราจะได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผู้สูงอายุกับการเปลี่ยนแปลง
ผู้สูงอายุหรือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จากที่เคยกระปรี้กระเปร่า เต่งตึง เมื่อครั้งยังเป็นหนุ่มสาว ก็หย่อนยานและเฉื่อยชา เนื่องจากกระบวนการปรับสมดุลโดยการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและสร้างเซลล์ใหม่ๆ ทดแทนส่วนที่เสื่อมลงตลอดเวลาจะเกิดอย่างช้าๆ ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จนอาจจะเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง สายตายาวขึ้นหรือมัวลง กระดูกบางและหักง่าย รูปร่างเปลี่ยนไป ผิวหนังหย่อนคล้อย ซึ่งย่อมส่งผลทางจิตใจต่อผู้สูงอายุไม่มากก็น้อย แต่หากมองในข้อดีของอายุที่มากขึ้น ก็จะพบว่าประสบการณ์การ “อาบน้ำร้อนมาก่อน” ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณค่าในสายตาของลูกหลาน เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของครอบครัวและสังคม

ปรับตัวเตรียมใจ ก้าวใหม่ในวัยชรา
การเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

วัยชรา

การดูแลทางด้านร่างกาย
1. โรคภัยใกล้ตัว ผู้สูงอายุควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคทางกายที่จะมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น โดยการเข้าสู่เข้าสู่วัยทอง จะทำให้ผู้หญิงมีอาการร้อนวูบวาบ ปวดเมื่อยตามตัว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย กระดูกบางและพรุน ส่วนผู้ชายจะพบต่อมลูกหมากโตได้บ่อย ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และควรรีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

2. อาหาร เป็นสิ่งจำเป็น ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่มีโภชนาการครบ 5 หมู่ ย่อยง่าย มีโปรตีนพอเหมาะ ไขมันน้อย เช่น เนื้อปลา เต้าหู้ ผักต้ม เมล็ดธัญพืชต่างๆ ผลไม้ที่รสไม่หวานจนเกินไป เป็นต้น เพื่อให้ได้แร่ธาตุครบ โดยเฉพาะแคลเซียมซึ่งมีมากในนม งาดำ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียม วิตามินซีช่วยในการป้องกันโรคภูมิแพ้ วิตามินบีในข้าวซ้อมมือและเครื่องในสัตว์ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและทำให้รู้สึกเจริญอาหาร โดยการรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อในปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยให้ร่างกายได้พลังงานที่เพียงพอ

3. ออกกำลังกาย เน้นการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างพอดี เช่น เดินต่อเนื่อง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ โยคะ เป็นต้น หลีกเลี่ยงกิจกรรมผาดโผนหรือการกระทบกระแทก เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญและใช้พลังงานอย่างเหมาะสม การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยควบคุมดัชนีมวลกายให้อยู่ในเกณฑ์ดี เพิ่มมวลกระดูก ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย

4. การนอนหลับ ผู้สูงอายุมักใช้เวลานอนน้อยลง บางท่านนอนไม่หลับหรือหลับแล้วตื่นเช้ากว่าปกติ หากพบปัญหาเหล่านี้อาจต้องหาสาเหตุที่นอนไม่หลับ เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด หรือโรคทางกายอย่างอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการนอนหลับ เช่น ปัสสาวะบ่อยจากโรคเบาหวาน นอนราบแล้วเหนื่อยหอบจากหัวใจล้มเหลวและมีน้ำท่วมปอด เท้าบวมจากโรคไต ขาและเข่าบวมปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น การฝึกวินัยให้เข้านอนและตื่นตรงเวลา ไม่งีบหลับในช่วงกลางวัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้หลับง่ายขึ้น อย่างไรก็ดี หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือ

วัยชรา

การดูแลทางด้านจิตใจ
ความวิตกกังวลและซึมเศร้า นอกจากจะมีความกังวลในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและโรคประจำตัวแล้ว ผู้สูงอายุยังกลัวการถูกทอดทิ้งให้ใช้ชีวิตเพียงลำพัง ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายแสดงอาการต่างๆ เช่น อารมณ์หงุดหงิดง่าย หายใจไม่อิ่ม เบื่ออาหาร ไม่มีสมาธิ ใจสั่น เป็นต้น แนวทางการแก้ไขคือ การปรับเปลี่ยนความคิดโดยให้มองสิ่งต่างๆ รอบตัวตามความเป็นจริง รวมถึงการทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย เช่น
1. การเข้ากลุ่มเพื่อทำกิจกรรมกับคนในวัยเดียวกัน เช่น รำไทเก๊ก เป็นอาสาสมัครออกหน่วยต่างๆ ฯลฯ เพราะการช่วยเหลือผู้อื่นจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกมีคุณค่า มีความภูมิใจในตนเอง
2. การท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้เกิดความเพลิดเพลิน กระปรี้กระเปร่า ส่งผลให้เกิดความสุขกายสบายใจ
3. การทำงานอดิเรกหรือประกอบอาชีพเล็กๆ น้อยๆ เช่น ปลูกต้นไม้ จัดสวน เลี้ยงสัตว์ เล่นดนตรี ฯลฯ เพื่อให้เกิดคุณค่าและเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะต้องอยู่เพียงลำพัง
4. การศึกษาธรรมะและการนั่งสมาธิก็จะให้ช่วยจิตใจสงบ
5. การปรึกษาจิตแพทย์เมื่ออาการวิตตกกังวลและซึมเศร้าไม่ดีขึ้น

ผู้สูงวัยคือร่มโพธิ์ร่มไทร
นอกจากนี้มุมมองของคนใกล้ตัวอย่างลูกหลานก็ยังมีส่วนทำให้ผู้สูงอายุทุกข์หรือสุขใจด้วย หากลูกหลานมองว่า ผู้สูงอายุคือทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่า สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตให้แก่ลูกหลานได้ รวมถึงยังเป็นผู้มีพระคุณ จึงให้ความเคารพ จัดเตรียมอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อร่างกาย จัดหาปัจจัย 4 และสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับท่าน ให้เวลา มอบความรักความอบอุ่น และดูแลความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด หรือให้คำปรึกษา เป็นกำลังใจให้ท่านอย่างสม่ำเสมอ พาท่านไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปีหรือเมื่อมีอาการเจ็บป่วย ผู้สูงอายุก็จะชีวิตในวัยชราอย่างมีความสุขมากขึ้น

ข้อมูลโดย : นพ.คมน์สิทธิ์ เดชะรินทร์ อายุรแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

-0

สิ่งอำนวยความสะดวก

1.ที่จอดรถ

  • ที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุ/ผุ้พิการ
  • ที่จอดรถสำหรับสุภาพสตรี

2.ทางเดิน/บันได

  • ทางลาดสำหรับรถเข็น
  • ราวจับบันได
  • ลิฟท์
  • ทางเดินกว้าง (easy walk in access)
  • ราวจับทางเดิน
  • พื้นไม่ลื่น

3.ห้องน้ำ

  • ห้องน้ำคนพิการ/คนสูงอายุ (wheelchairเข้าได้)
  • ต้องขึ้นบันไดเพื่อไปห้องน้ำ
  • ชักโครก (แบบนั่ง)
  • ราวเกาะ
  • พื้นไม่ลื่น

4.สิ่งอำนวยความสะดวกพิเศษ

  • มีรถเข็น wheelchair / ไม้เท้า บริการ

Leave a Reply