การดูแลผู้สูงวัยในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย เป็นเรื่องละเอียดอ่อน บางครั้งบางเรื่อง เราอาจคิดไม่ถึง หรือมองข้าม วันนี้จะลองนำสิ่งต่างๆ ที่เราอาจลืมไปมาบอกกัน
-ต้องรู้ว่า ผู้สูงวัยในบ้านเรา มีโรคประจำตัวอะไร ใช้ยารักษาตัวไหน มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาหรือไม่ อย่างไร เพื่อที่เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นจะได้แจ้งแพทย์ได้
-เอกสารสำคัญของท่าน เก็บไว้ที่ไหน ไม่ว่าจะเป็น บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประกันสังคม กรมธรรม์ประกันชีวิต กรมธรรม์ประกันสุขภาพ เอกสารทางการเงิน ใบนัดพบแพทย์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เราควรทำที่รวบรวมจัดเก็บให้เป็นที่ทาง เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้ ยามจำเป็นเร่งด่วน
-อย่าละเลย อาการเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ เพราะบางครั้งคนแก่ อาจมีอาการ อย่างปวดหัว ปวดตัว ตาพร่า มองไม่ชัด สับสน ซึมเศร้า บางทีเราคิดว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวก็หาย แต่ที่จริง เมื่อเป็นอะไรก็ควรนำท่านไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูถึงอาการผิดปกติแต่เนิ่นๆ จะได้รักษาทันหากเป็นอะไรที่รุนแรง
-หมั่นหาข้อมูล การดูแลรักษาโรคที่ท่านเป็นอยู่ โดยหาแหล่งข้อมูลจากนิตยสารสุขภาพ แหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เนตที่น่าเชื่อถือ
-หมั่นสอบถาม พูดคุย เปิดโอกาสให้ท่านได้แสดงความคิดเห็น พูดบ่น เรื่องนั้น เรื่องนี้ เราควรทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดี อย่าแสดงความรำคาญ เพราะท่านจะน้อยใจ และไม่ยอมพูดความในใจให้ฟัง การให้ท่านได้พูดก็เท่ากับให้ท่านได้ปลดปล่อยความเครียดในใจที่มีอยู่ ทำให้รู้สึกว่ามีคนรับฟัง
-คอยสอบถามว่า ท่านต้องการสิ่งใดอยู่เสมอๆ เพราะบางครั้งท่านอาจเกรงใจ ไม่กล้าพูดบอกเราเอง
บางทีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ หลายคนอาจจะละเลย คิดว่าไม่จำเป็น แต่บางสิ่งที่เราว่าเล็กน้อยนั้น อาจะเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับชีวิตของผู้สูงวัยในบ้านเราเลยนะคะ เพียงเพิ่มความใส่ใจเพิ่มอีกนิด จะสร้างความสุขให้ท่านได้มากเลยละค่ะ
+0 -0
สิ่งอำนวยความสะดวก
1.ที่จอดรถ
- ที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุ/ผุ้พิการ
- ที่จอดรถสำหรับสุภาพสตรี
2.ทางเดิน/บันได
- ทางลาดสำหรับรถเข็น
- ราวจับบันได
- ลิฟท์
- ทางเดินกว้าง (easy walk in access)
- ราวจับทางเดิน
- พื้นไม่ลื่น
3.ห้องน้ำ
- ห้องน้ำคนพิการ/คนสูงอายุ (wheelchairเข้าได้)
- ต้องขึ้นบันไดเพื่อไปห้องน้ำ
- ชักโครก (แบบนั่ง)
- ราวเกาะ
- พื้นไม่ลื่น
4.สิ่งอำนวยความสะดวกพิเศษ
- มีรถเข็น wheelchair / ไม้เท้า บริการ